หากเอ่ยถึงยี่ห้อของรถมอเตอร์ไซค์วิบากที่มีชื่อเสียงในบ้านเรา คงจะไม่มีใครไม่รู้จักรถมอเตอร์ไซค์ ยี่ห้อ คาวาซากิ (Kawasaki) เพราะบริษัทผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์ยี่ห้อนี้ ได้เข้ามาทำตลาดในบ้านเราอย่างกว้างขวางและช้านาน ไม่ว่าจะเป็น มอเตอร์ไซค์ขับขี่ทั่วไป มอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ มอเตอร์ไซค์วิบาก หรือแม้แต่เครื่องยนต์กลไกอื่นๆอีก เป็นต้น
วันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกับประวัติ ที่มาที่ไป การก่อตั้งบริษัทรถมอเตอร์ไซค์ ยี่ห้อ Kawasaki กันครับ
1878 Shozo Kawasaki ผู้ก่อตั้งทำการเปิดอู่ต่อเรือ Kawasaki Tsukijiที่ทำการต่อเรือเดินสมุทรเหล็กกล้าแบบตะวันตก ในกรุงโตเกียวในปี 1886 ขอบเขตของกิจการได้ขยายจนก่อตั้งเป็นบริษัทอู่ต่อเรือ Kawasaki ในเมืองโกเบ
ผู้ก่อตั้งบริษัทรถมอเตอร์ไซค์ ยี่ห้อ Kawasaki,Shozo Kawasaki ที่มาของคาวาซากินั้นนับย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1876, เมื่อ Shozo Kawasaki ได้ก่อตั้งอู่ต่อเรือ Kawasaki Tsukiji ในกรุงโตเกียว หลังจากนั้น 18 ปี ในปี ค.ศ.1896, ก็ได้พัฒนาขึ้นเป็นบริษัทอู่ต่อเรือ Kawasaki จำกัด
Shozo Kawasaki เกิดในเมือง Kagoshima เป็นตระกูลพ่อค้ากิโมโนและกลายมาเป็นพ่อค้ารายย่อย ในช่วงอายุ 17 ในเมือง Nagasaki ซึ่งเป็นเมืองเดียวของญี่ปุ่นที่เปิดติดต่อกับทางตะวันตก เขาได้เริ่มธุรกิจการขนส่งทางเรือในเมือง Osaka เมื่ออายุได้ 27 ซึ่งเกิดการผิดพลาดขึ้นเมื่อเรือสินค้าของเขาเกิดจมลงในพายุ ในปี 1869
เขาได้เข้าร่วมบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวกับการค้าน้ำตาลจากเมือง Ryukyu ( ในประจุบันคืออำเภอในเมือง Okinawa ) ซึ่งก่อตั้งโดยตระกูลซามูไรแห่ง Kagoshima และในปี1893 ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับน้ำตาลพันธ์ Ryukyu รวมทั้งเส้นทางเดินเรือ ตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งในปี1894 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองประธานฝ่ายบริหารของบริษัทขนส่งMailSteam-Powered แห่งญี่ปุ่นและประสบความสำเร็จในการเปิดเส้นทางเดินเรือไปยัง Ryukyu และการขนส่งน้ำตาลไปยังญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่
ประโยชน์จากการที่มีประสบการณ์จาก อุบัติเหตุทางทะเลหลายๆครั้งในชีวิต ทำให้ Kawasaki เกิดรู้สึกไว้ใจต่อเรือของตะวันตกอย่างยิ่งเพราะเรือเหล่านั้น มีเนื้อที่กว้างขวาง,มั่นคงและรวดเร็วมากกว่าเรือญี่ปุ่นทั่วไป และเขาก็ยังสนใจในอุตสาหกรรมต่อเรือสมัยใหม่ ทำให้ใน เดือนเมษายน ปี 1878 โดยการสนับสนุนของ Masayoshi Matsukata ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งมาจากจังหวัดเดียวกันกับ Kawasaki ได้ก่อตั้งอู่ต่อเรือ Kawasaki Tsukiji โดยการยืมพื้นที่จากรัฐบาลใน แถบแม่น้ำ Sumidagawa,Tsukiji Minami-Iizaka-cho(ปัจจุบันTsukiji 7-chome,Chuo-ku,) กรุงโตเกียว ที่เป็นก้าวสำคัญของการเป็นนักต่อเรือ
1896 บริษัทอู่ต่อเรือ Kawasaki จำกัดอยู่ในรูปของบริษัท โดยมี Kojiro Matsukata ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคนแรก ของบริษัทใหม่นี้
ประธานคนแรกบริษัทรถมอเตอร์ไซค์ ยี่ห้อ Kawasaki ,Kojiro Matsukata ในปี 1894 เจ็ดปีหลังจากการก่อตั้งของบริษัทต่อเรือ Kawasaki สงคราม Sino-Japanese ได้เริ่มขึ้น และอุตสาหกรรมการต่อเรือในญี่ปุ่นก็ได้รับผลจากเหตุการณ์นั้น ซึ่ง Kawasaki ได้รับงานการซ่อมเรือด่วนอย่าง มากมาย เมื่อได้ตระหนักถึงข้อจำกัดของการจัดการโดยบุคคล ทำให้ Kawasaki ตัดสินในนำบริษัทเข้าสู่มหาชนทันที หลังสงครามสิ้นสุดลง ซึ่งต่อมาเมื่อย่างเข้าวัย 60 เมื่อไม่มีบุตรชายที่มีอายุมากพอที่จะรับช่วงต่อ Kawasaki จึงเลือก Kojiro Matsukata บุตรชายคนที่สามของผู้มีพระคุณต่อธุรกิจของเขา ที่ชื่อ Masayoshi Matsukata เป็นผู้รับช่วงต่อไป
Kojiro Matsukata เกิดที่อำเภอ Satsuma (ในปัจจุบันคืออำเภอในเมือง Kagoshima) ในปี 1865 กลายมาเป็นเลขาฯของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ระหว่างการบริหารงานของบิดาในช่วงปี 1891 และปี 1892 ในปี 1896 Matsukata ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคนแรกของบริษัทอู่ต่อเรือ Kawasaki จำกัด และอยู่ในตำแหน่งเป็นเวลา 32 ปี จนถึงปี 1928 โดยการขยายธุรกิจในด้านรถไฟบรรทุกสินค้า, อากาศยาน การขนส่งทางทะเล และนำระบบ 8 ชั่วโมงต่อวันมาใช้ในญี่ปุ่นเป็นเจ้าแรกรวมทั้งวิธีอื่นๆ เขาได้บำรุงและทำให้ Kawasaki เติบโตเป็นบริษัทผู้นำทางด้าน อุตสาหกรรมหนังของประเทศญี่ปุ่น Matsukata เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้สะสมงานศิลป์พิพิธพันธ์แห่งชาติทางศิลปะตะวันตกในกรุงโตเกียวได้สร้าง จากของสะสมส่วนตัวของ Matsukata รวมทั้งพิพิธพันธ์แห่งชาติโตเกียวได้เก็บของสะสมของเขา คือ ภาพพิมพ์ Ukiyoe
เรือโดยสาร-ขนสินค้า Iyomaru ในปี 1897 อู่ต่อเรือ Kawasaki ได้ต่อเรือโดยสาร-สินค้า Iyomaru (727 ตันกรอส) เรือลำแรก หลังจากที่กลายมาเป็นบริษัทการค้าสาธารณะ ระหว่าง 10 ปีของการจัดการโดยบุคคลระหว่างปี1886 จนถึงปี1896 บริษัทก็ได้ต่อเรือใหม่อีก 80 ลำรวมถึงเรือเหล็กกล้า 6 ลำ เช่นเรือ Tamamaru (ขนาดประมาณ 570 ตันกรอส) ตั้งแต่เรือเหล็กเกล้าลำแรกได้ถูกต่อขึ้นในญี่ปุ่น ในปี1890 วัสดุในการต่อเรือได้พัฒนาปรับเปลี่ยนจากเหล็กเป็น เหล็กกล้า
การเริ่มต้นของอู่ต่อเรือ Kawasaki จึงถือว่าเป้นการเริ่มต้นของอุตสาหกรรมต่อเรือแบบทันสมัยของญี่ปุ่น
การสร้างอู่ต่อเรือแห้ง 1902 เรือ Mikawamaru ของ Nippon Yusen Kabushiki Kaisha (NYK Line) ได้เข้าใช้บริการอู่แห้งซึ่งเป็นเรือลำแรกที่ถูกซ่อมทำในอู่ Shozo Kawasaki ได้ตระหนักอย่างแรงกล้าว่าอู่เรือของบริษัทมีความต้องการอย่างมากในการเพิ่มขีดความ สามารถนับตั้งแต่ที่อู่ต่อเรือ Kawasaki ได้ถูกสร้างขึ้นที่เมืองโกเบ อำเภอ Hyogo เขาจึงได้วางแผนสร้างอู่แห้ง โดยการบำรุงพื้นที่ใกล้ๆกับอู่เรือ โดยในปี 1892 การสำรวจพื้นที่ได้เริ่มขึ้นและปี 1895 การทดลองเจาะก็เกิดขึ้น หลังจาก ได้ควบเป็นบริษัทต่อเรือKawasaki ,Kojiro Matsukata ก็ได้ดำเนินการตามแผน
งานก่อสร้างประสบอุปสรรคเนื่องจากโครงสร้างที่อ่อนแอมากๆของทำเลที่ตั้งบนแม่น้ำMinatogawa River delta หลังจากลองผิดลองถูก เทคนิคใหม่ๆได้ถูกนำมาใช้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของฐานรากใต้น้ำ โดยการเท คอนกรีต หลังจากนั้นหกปีในปี1902 อู่แห้งก็สร้างสำเร็จโดยเสียค่าใช้จ่ายและเวลามากกว่าการก่อสร้างอู่ ภายใต้ เงื่อนไขปกติถึง 3 เท่าอู่แห้ง ขนาดของอู่แห้ง ยาว 130 เมตร,กว้าง 15.7 เมตร,ลึก 5.5 เมตร ขนาดระวางขับน้ำของเรือที่เข้าใช้สูงสุดที่ 6,000 ตันกรอส(ปันจุบันเป็นอู่หมายเลข 1,อู่เรือโกเบ) ถูกบันทึกให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่ลงทะเบียนเป็นรูปธรรม ของญี่ปุ่นในปี 1998
<< 1999 – อู่หมายเลข 1 , อู่เรือโกเบ
<< ใบรับรองอู่ให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่ลงทะเบียนเป็นรูปธรรม
1906 โรงงาน Hyogo แห่งใหม่ได้เริ่มประดิษฐ์หัวรถจักร, รถบรรทุกผู้โดยสารและสินค้า และคานสะพาน ซึ่งก็เป็นปีที่ Kawasaki เริ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องจักรไอน้ำแบบใช้ในเรือที่อู่ด้วย
<< ใบรับรองอู่ให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่ลงทะเบียนเป็นรูปธรรม
1906 โรงงาน Hyogo แห่งใหม่ได้เริ่มประดิษฐ์หัวรถจักร, รถบรรทุกผู้โดยสารและสินค้า และคานสะพาน ซึ่งก็เป็นปีที่ Kawasaki เริ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องจักรไอน้ำแบบใช้ในเรือที่อู่ด้วย
เรือดำน้ำลำแรกของญี่ปุ่น เรือดำน้ำหมายเลข 6 และ 7 แบบฮอล์แลนด์ ในการตรวจสอบในอู่แห้ง
กองทัพเรือญี่ปุ่นเริ่มคิดที่จะนำเรือดำน้ำเข้ามาในปี1901 และได้ตัดสินใจที่จะจัดตั้งกองเรือดำน้ำขึ้นทันทีหลัง จากสงคราม Russo-Japanese เริ่มต้นขึ้นและในปี 1904 เรือดำน้ำฮอล์แลนด์ 5 แบบ, เรือดำน้ำหมายเลข 1 ถึง 5 นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา
กองทัพเรือญี่ปุ่นเริ่มคิดที่จะนำเรือดำน้ำเข้ามาในปี1901 และได้ตัดสินใจที่จะจัดตั้งกองเรือดำน้ำขึ้นทันทีหลัง จากสงคราม Russo-Japanese เริ่มต้นขึ้นและในปี 1904 เรือดำน้ำฮอล์แลนด์ 5 แบบ, เรือดำน้ำหมายเลข 1 ถึง 5 นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา
ในเวลาเดียวกันนั้นกองทัพเรือตัดสินใจที่จะสร้างเรือดำน้ำขึ้นภายในประเทศญี่ปุ่น ในปี1904 ได้มีการสั่งงาน ต่อเรือสองลำแรกต่อ Kawasaki ถึงแม้ว่ากองทัพเรือได้จัดแผนที่ทำขึ้นโดย J. P. Holland ผู้ออกแบบ เรือดำน้ำแบบฮอล์แลนด์แต่รายละเอียดหลงอยู่ในบริษัท Kawasaki อุทิศกำลังทั้งหมดเพื่อต่อเรือดำน้ำที่จะบรรลุ ความคาดหวังของกองทัพเรือ และแสดงขีดความสามารถในฐานะผู้ต่อเรือต่อโลก ได้ทำการเชื้อเชิญวิศวกรจากสหรัฐ พร้อมทั้งทำการวิจัยต่อในปัญหาหลังจากได้ทำการวางกระดูกงู ในปี
1906 หลังจากฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ Kawasaki ก็สามารถส่งมอบเรือดำน้ำสองลำแรกที่สร้างภายในประเทศญี่ปุ่นแก่กองทัพเรือได้สำเร็จ เรือดำน้ำหมายเลข 6 และ 7
หัวรถจักรโดย Kawasaki คันแรก ในปี 1872 หัวรถจักรไอน้ำโดยสหราชอาณาจักรได้ออกวิ่งในครั้งแรกบนรางรถไฟญี่ปุ่นสายแรกระหว่างเมือง Shinagawa และเมือง Yokohama Kawasaki ได้เริ่มผลิตรถไฟบรรทุกสินค้าในปี1907 และ 4 ปีหลังจาก นั้น ได้ผลิตหัวรถจักรไอน้ำคันแรก, หัวรถจักรแบบตามประมูล (2B แบบไอน้ำ, เบอร์ 6700-6704), สำหรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการรถไฟ โดยประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับอย่างสูงและรัฐมนตรีได้ชื่นชมบริษัทฯว่าหัวรถจักร นั้นทำได้ดีกว่าที่ผลิตจากต่างประเทศ Kawasaki ได้ผลิตทั้งหมด 3,237 หัวรถจักรจนกระทั้งปี 1971 ซึ่งเป็น การสนับสนุนอันยิ่งใหญ่แก่ การพัฒานาการรถไฟในประเทศญี่ปุ่น
1918 แผนกอากาศยานที่โรงงาน Hyogo, 15 ปีเล็กน้อยหลังจากที่เที่ยวบินประวัติศาสตร์ของพี่น้องตระกูลไรท ์ เมื่อเครื่อง บินยังคงต่อจากไม้และผ้าทอและยังสามารถเดินทางได้ในระยะทางสั้น
ในปี 1922 บริษัทได้เริ่มผลิตอากาศยานและต่ออากาศยานแบบใหม่ Kawasaki ได้ทำการผลิตอากาศยานโลหะลำแรกของญี่ปุ่นซึ่งเป็นต้นแบบของการคิดค้นเทคโนโลยีสำหรับปัจจุบัน
1919 แผนกเรือบรรทุกได้ขยายตัวกลายเป็นรูปบริษัท Kawasaki Kisen Kaisya จำกัด (K-line)
1928 โรงงาน Hyogo ขยายตัวกลายเป็นรูปบริษัท Kawasaki ผลิตรถไฟบรรทุกสินค้าจำกัด
1937 แผนกอากาศยานขยายตัวกลายเป็นบริษัท Kawasaki อากาศยานจำกัด
1950 แผนกผลิตเหล็กกล้าได้ขยายตัวแล้วรวมตัวเป็นบริษัท Kawasaki เหล็กกล้า เมื่อบริษัทได้ขยายตัวขึ้น แผนกรถไฟ บรรทุก สินค้า, อากาศยานและ ผลิตเหล็กกล้าก็กระจายตัว เพื่อปูทางสำหรับการเจริญเติบโตที่มั่นคงในแต่ ละ ด้านงานการต่อเรือ,รถไฟบรรทุกสินค้า,อากาศยาน,เครื่องจักรก่อสร้าง และอุตสาหการ และธุรกิจสิ่งก่อ สร้าง เหล็กกล้า ได้มี บทบาทสำคัญใน การฟื้นตัวและการขยายเศรษฐกิจช่วงหลังสงคราม ซึ่งบริษัทประสบความ สำเร็จ อย่าง มหาศาล จนกระ ทั่ง ประเทศญี่ปุ่นได ้จับตามมองว่าบริษัทจะกลายมาเป็น บริษัทผู้นำของโลกด้าน อุตสาหกรรม
1919 แผนกเรือบรรทุกได้ขยายตัวกลายเป็นรูปบริษัท Kawasaki Kisen Kaisya จำกัด (K-line)
1928 โรงงาน Hyogo ขยายตัวกลายเป็นรูปบริษัท Kawasaki ผลิตรถไฟบรรทุกสินค้าจำกัด
1937 แผนกอากาศยานขยายตัวกลายเป็นบริษัท Kawasaki อากาศยานจำกัด
1950 แผนกผลิตเหล็กกล้าได้ขยายตัวแล้วรวมตัวเป็นบริษัท Kawasaki เหล็กกล้า เมื่อบริษัทได้ขยายตัวขึ้น แผนกรถไฟ บรรทุก สินค้า, อากาศยานและ ผลิตเหล็กกล้าก็กระจายตัว เพื่อปูทางสำหรับการเจริญเติบโตที่มั่นคงในแต่ ละ ด้านงานการต่อเรือ,รถไฟบรรทุกสินค้า,อากาศยาน,เครื่องจักรก่อสร้าง และอุตสาหการ และธุรกิจสิ่งก่อ สร้าง เหล็กกล้า ได้มี บทบาทสำคัญใน การฟื้นตัวและการขยายเศรษฐกิจช่วงหลังสงคราม ซึ่งบริษัทประสบความ สำเร็จ อย่าง มหาศาล จนกระ ทั่ง ประเทศญี่ปุ่นได ้จับตามมองว่าบริษัทจะกลายมาเป็น บริษัทผู้นำของโลกด้าน อุตสาหกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น